ความเป็นมา
ความเป็นมา

ความเป็นมาและแนวทางการดำเนินงาน

โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

               ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 

การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป   การใช้วิธีการสอนอบรมที่ให้เกิดความกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาว  

          โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพืชพรรณไม้ เห็นคุณค่าประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป

          สวนพฤกษศาสตร์ คือ แหล่งที่รวบรวมพันธุ์พืชชนิดต่างๆ ที่มีชีวิต จัดปลูกตามความเหมาะสมกับสภาพถิ่นอาศัยเดิม มีห้องสมุด สถานที่เก็บรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้รักษาสภาพ อาจเป็นตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างดอง หรือเก็บรักษาโดยวิธีอื่นๆ พันธุ์พืชที่รวบรวมไว้นั้นจะเป็นแหล่งข้อมูลและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ นอกจากนี้สามารถใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจซึ่งสามารถดำเนินการสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่ของโรงเรียน  โดยมีองค์ประกอบดังกล่าวเป็นสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ใช้ในวัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งใช้ในการศึกษาและเป็นประโยชน์ต่อเนื่องในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ

          สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  จึงเป็นการดำเนินงานที่อิงรูปแบบของ สวนพฤกษศาสตร์ โดยมีการรวบรวมพันธุ์ไม้ที่มีชีวิต มีแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีการศึกษาต่อเนื่อง มีการเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง พันธุ์ไม้ดอง มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเข้ามาปลูกรวบรวมไว้ในโรงเรียน และภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ มีมุมสำหรับศึกษาค้นคว้า และมีการนำไปใช้ประโยชน์เป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ไม่ฝืนธรรมชาติ และเป็นไปตามความสนใจและความพร้อมของโรงเรียน ดำเนินการโดยสมัครใจ ไม่ให้เกิดความเครียด

                ดร.พิศิษฐ์  วรอุไร   ประธานคณะกรรมการบริหารโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ประชุมหารือกับคณาจารย์และราชบัณฑิตด้านพฤกษศาสตร์และเห็นพ้องต้องกันที่จะใช้ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นสื่อในการที่จะให้นักเรียน เยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้มีความเข้าใจเห็นความสำคัญของพืชพรรณ เกิดความรัก หวงแหนและรู้จักนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ และแนวปฏิบัติให้เป็นงานหนึ่งในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และชัดเจนในคำจำกัดความของ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตามแบบอย่างสวนพฤกษศาสตร์ ในการเป็นที่รวบรวมพรรณไม้ที่มีชีวิต มีการศึกษาต่อเนื่องมีห้องสมุดที่ใช้ในการศึกษา เก็บตัวอย่างพรรณไม้แห้ง-ดอง แต่ย่อขนาดมาดำเนินการในพื้นที่เล็กๆ

                โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่พระราชดำริ และแนวทางการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนให้กับโรงเรียน  โดยให้โรงเรียนที่สนใจสมัครใจที่จะร่วมสนองพระราชดำริ สมัครเป็นสมาชิกซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกมากกว่า 230 โรงเรียน 57 จังหวัด  

                การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ควรทำด้วยความสมัครใจเพื่อสอดคล้องกับธรรมชาติ ไม่ให้เกิดความเครียด มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เบื้องแรกต้องทำความเข้าใจในเรื่องแนวคิดแนวปฏิบัติว่าสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสวนใช้ประโยชน์ที่จะนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณ มิใช่เป็นสวนประดับ สวนหย่อมหรือสวนสวยโรงเรียนงาม แต่เป็นงานที่เข้ามาสนับสนุนสวนที่มีอยู่แล้วหรือดำเนินการขึ้นใหม่ซึ่งจะให้ความรู้พัฒนาสภาพแวดล้อมตามลำดับ เป็นงานที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ เพราะสามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ไม่ต้องลงทุนเพียงแต่ให้เด็กรู้จักสังเกต เรียนรู้ ตั้งคำถาม และหาคำตอบ เป็นข้อมูลสะสมอันจะก่อให้เกิดความรู้และผู้เชี่ยวชาญในพันธุ์ไม้นั้นๆ รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้ที่ใกล้สูญพันธุ์ พรรณไม้ที่เป็นประโยชน์ พืชสมุนไพร พืชผักพื้นเมือง เป็นที่รวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนของโรงเรียนที่เป็นสมาชิกจะเป็นส่วนหนึ่งของ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เชื่อมต่อด้วยระบบข้อมูล จะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากมีกระจายอยู่ทั่วประเทศมีความหลายหลากของพรรณไม้ ภูมิประเทศและความหลายหลากของการปฏิบัติในการนำเอาต้นไม้ พืชพรรณในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นสื่อการเรียนการสอน

                การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์  ดำเนินการโดยนักเรียน มีครูอาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำ สนับสนุน ผู้บริหารเป็นหลักและผลักดัน มีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนทางวิชาการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนจึงเป็นการดำเนินงานของโรงเรียนโดยสมัครใจที่จะนำแนว พระราชดำริและแนวทางการดำเนินงานที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชดำริฯ ให้คำแนะนำมาปฏิบัติ โดยทางโครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละโรงเรียนดำเนินงานตามความพร้อม ไม่ฝืนธรรมชาติและนำพืชพรรณไม้ในโรงเรียนพัฒนาเป็นสื่อการเรียนการสอนในวิชา ต่างๆ อันจะเกิดผลประโยชน์แก่นักเรียน ครู อาจารย์ ที่ดำเนินงานเกิดข้อมูลองค์ความรู้ วิธีการที่จะทำให้เกิดผู้เชี่ยวชาญ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อเสนอขอตำแหน่ง ปรับระดับตำแหน่งทางวิชาการต่อไป

                สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนมีวิธีดำเนินการ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 10  นโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ   นโยบายส่วนใหญ่ของโรงเรียน และสอดคล้องกับในหมวด 4 แนวทางจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

เป้าหมายของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

เป้าหมาย

          เพื่อพัฒนาบุคลากร  อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืช ให้เกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย

วัตถุประสงค์

-         ให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช

-         ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดผลประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย

-         ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ

 กิจกรรมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักพันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนและพัฒนาพันธุ์พืช

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

หมายเหตุ

                โรงเรียนสามแยกบางคูลัด (จั่นเพชรวิทยาคาร)  ได้เข้ารับการอบรมในโครงการ และมีความสนใจในการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริฯ 5 องค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน คือ

                1. การจัดทำป้ายชื่อ                                             

                   2. การรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกเพิ่มในโรงเรียน

                3. การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆของพรรณไม้                    

                  4. การเขียนรายงาน

                5. การนำไปใช้ประโยชน์

                *ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

 การดำเนินงานโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนสามแยกบางคูลัด (จั่นเพชรวิทยาคาร)

 1. ผู้รับผิดชอบงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

              1.  นายเชียง   อธิจันทรรัตน์                                                      ผู้อำนวยการโรงเรียนสามแยกบางคูลัด

2.   นางรัชนี   วายโสกา                                                                 กรรมการ                              

             3.   นางสาวละมัย   รัดคุ่ย                                                                 กรรมการ

              4.  นางสาวพัณณ์ชยา   ภัคธนาชัยอนันท์                                   กรรมการ

              5.  นางสนองนาฏ        เสาวภาส                                                  กรรมการและเลขานุการ

2.  คณะกรรมการดำเนินการ

                1.  นางสนองนาฏ        เสาวภาส                                                   ประธานกรรมการ

                2.  นางสาววลัญช์รัช   บัวทรัพย์                                                    กรรมการ

                3.  นางสาววิมลรัตน์     รัดคุ่ย                                                          กรรมการ

                4.  นางสาวเนื้อน้อง     บำราบพาล                                                กรรมการ

                5.  นางอรุณ    หยวกทอง                                                                 กรรมการ

                6.  นางสาวละมัย   รัดคุ่ย                                                                  กรรมการ

                7.  ว่าที่ ร.ต อนุพันธ์   บุญธรรม                                                     กรรมการ

                8.  นางรัชนี     วายโสกา                                                                  กรรมการ

                9.  นางสาวพัณณ์ชยา   ภัคธนาชัยอนันท์                                     กรรมการ

มีหน้าที่ ดำเนินการตามองค์ประกอบ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ คือ

1) จัดทำป้ายชื่อพรรณไม้

2) การรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกในโรงเรียน

3) การศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ 

4) การเขียนรายงาน 

5) การนำไปใช้ประโยชน์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

1.  นางรัชนี     วายโสกา                                                               หัวหน้ากลุ่มสาระ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

1.  นางอรุณ    หยวกทอง                                                          หัวหน้ากลุ่มสาระ       

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

1.  นางรัชนี     วายโสกา                                                            หัวหน้ากลุ่มสาระ

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

1.  นางสาวพัณณ์ชยา   ภัคธนาชัยอนันท์                                    หัวหน้ากลุ่มสาระ

 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

1. 

Word Document ดาวน์โหลดไฟล์   ขนาดไฟล์ 209.5 KB